วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

หญ้าไผ่น้ำ หรือที่เรียก จุ้ยเต็กเฉ้า

หญ้าไผ่น้ำ  ไม่สามารถรักษาโรคไตได้... ขับฉี่ได้



อะไรนะ ปัจจุบันยังมีคนเชื่อว่า "หญ้าไผ่น้ำ" "จุ้ยเต็กเฉ้า"  รักษาโรคไตได้...
โง่ฉิบหาย !!


อันตรายที่ท่านจะได้จากหญ้าไผ่น้ำคือ เร่งให้ไตท่านเสื่อมไวขึ้น...
ท่านจะไปเชื่ออะไรคนที่จ้องจะขายต้นหญ้าไผ่น้ำนี่ล่ะ ???   พวกนี้เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว

แม่งโง่ฉิบหาย คนขายก็เห็นแก่ได้ ยังเสือกขายอยู่คนป่วยไตก็เชื่อกัน โง่กันอีก... โคตรโง่..


* ผมขออนุญาติด่าท่านด้วยความปรารถนาดีอย่างสุดซึ้ง

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

"โครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูงเพื่อผู้ด้อยโอกาส” ปี 2559 รพ.จุฬาฯ




📢โครงการดีดี มีอีกล้าววว!!!ผ่าตัดปลูกถ่ายไตผู้ป่วยฟรี!!!!☝🏻️กดแชร์👉🏻 บอกต่อ 🙏เปิดโอกาสเป็นผู้ให้ ✌️สร้างกุศลร่วมกัน #14โครงการเพื่อผู้ยากไร้

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัด “โครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูงเพื่อผู้ด้อยโอกาส” เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย”

โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ หน่วยโรคไต ฝ่ายอายุรศาสตร์ และศัลยกรรมสาย G1 ,G3 จัดกิจกรรมพิเศษให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแก่ผู้ป่วยจำนวน 84 ราย ให้กับผู้ป่วยยากไร้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวได้อย่างมีความสุข

ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะขอรับบริการ สามารถสมัครและสอบถามรายละเอียดเบื้องต้นได้ที่: (02) 256 4000 และ (02) 256 4251 ต่อ 216

ข้อมูลจาก.. : https://www.facebook.com/ChulalongkornHospital/

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

108 คำถาม จาก thailabonline น่าอ่านมาก

ก๊อปปี้มา..อ่าน.. จาก..   http://www.thailabonline.com/sec6transplant.htm 

108 คำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนไต   
BY : รวบรวมโดย
มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย
สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย

ข้อบ่งชี้ (INDICATION)
  การปลูกถ่ายไตคืออะไร
การปลูกถ่ายไต คือการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการใช้ไตจากผู้อื่น (ซึ่งผ่านการตรวจแล้ว
ว่าสามารถเข้ากันได้) ให้มาทำหน้าที่แทนไตเก่าของผู้ป่วยที่สูญเสียหน้าที่ไปอย่างถาวรแล้ว ปัจจุบันถือเป็น
การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากถ้าไตใหม่ทำ
หน้าที่ได้ดีแล้ว สามารถทดแทนไตเดิมได้สมบูรณ์ คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น รวมทั้งอายุที่ยืนยาวกว่าการรักษา
ทดแทนไตโดยวิธีอื่น
  มีทางเลือกอื่นหรือไม่นอกจากการปลูกถ่ายไต 
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถปลูกถ่ายไตได้ ด้วยเหตุผลใดก็ตามสามารถรักษาทดแทนไตด้วยวิธีอื่นได้ เช่นการฟอกเลือด
โดยใช้เครื่องไตเทียม การล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD)หรือแม้แต่การรักษาทางยา ถึงแม้ประสิทธิภาพ
ในการรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็จะช่วยให้อาการผู้ป่วยทุเลาลงได้บ้าง    การเลือกการรักษาแบบใดนั้นขึ้น
อยู่กับสภาพร่างกายผู้ป่วยในขณะนั้น และความพร้อมของบุคคลากรของโรงพยาบาลและผู้ป่วยเอง
  ใครที่ปลูกถ่ายไตไม่ได้
1. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีปฏิกริยาต่อต้านไตใหม่
2. ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด โรคจิตเภท
3. ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อไวรัสที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ ซี
    โรคไวรัสเอดส์
4. ผู้ป่วยที่มีโรคทางกายอยู่เดิม เช่นเบาหวานระยะลุกลาม โรคตับอักเสบระยะรุนแรง  โรคหัวใจล้มเหลว
    ระยะรุนแรง แผลในกระเพาะอาหารระยะรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ
5. ช่วงอายุ > 65 ปี หรือในเด็กอายุ < 5 ปี
6. มีโรคไตที่จะเกิดซ้ำได้ในไตใหม่ถ้าเปลี่ยนไต เช่น ออกซวโลซิส ( Oxalosis)
7. มะเร็งระยะลุกลาม
8. ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะที่ยังแก้ไขไม่ได้
9. ไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เช่น ไม่กินยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่มาพบแพทย์ตามที่นัดตรวจ
10. ผู้ป่วยโรคหอบหืด/โรคเอสแอลอี/โรคหัวใจ ต้องไม่อยู่ในช่วงระยะรุนแรงกำเริบอยู่
  ลำดับอาการของผู้ป่วยจนถึงการรอการเปลี่ยนไต 
- แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยไตวานเรื้อรังระยะสุดท้าย
- ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางหัวใจ ตรวจสภาพจิตใจ
- เจาะเลือดตรวจหน้าที่ของไต / ตับ / ตับอักเสบ บี -ซี / ซิฟิลิส / เอช ไอ วี
- ตรวจเนื้อเยื่อ (HLA Matching)
- การลงทะเบียนรอ ( Waiting list)
- ส่งเลือดตรวจทุก 2 เดือน (ตรวจหาภูมิคุ้มกัน)/ตรวจร่างกายทุก 2-3 เดือน
- การลงทะเบียนรอ พร้อมรับการเปลี่ยนถ่าย (Active waiting list)




  ผู้ที่จะปลูกถ่ายไต ควรเตรียมตัวอย่างไร 

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้าย ระหว่างที่รอการปลูกถ่ายไตต้องเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมอยู่ตลอด
เวลา  เพราะไตที่รอคอยนั้น อาจจะมาเมื่อใดก็ได้โดยที่เราจะไม่คาดคิด ความพร้อมทางร่างกายนั้นต้องตรวจ
เช็คอวัยวะทุกระบบในตัวว่าแข็งแรงพอที่จะทนการผ่าตัดได้หรือไม่ และสามารถรับการรักษาด้วยยากดภูมิต้าน
ทานได้ ผู้ป่วยจะต้องไม่เป็นผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด ผลการเปลี่ยนไตจึงจะได้คุ้มค่า

  มีการตรวจอะไรบ้าง ที่ควรทำในระหว่างการรอปลูกถ่ายไต 
ระบบต่างๆของร่างกายที่ต้องตรวจเช็ค คือ ระบบหัวใจ / ตับ / ปอด / สมอง / ระบบเส้นเลือด และ
ความดันโลหิต
- หัวใจที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการแก้ไขก่อนที่จะผ่าตัดเปลี่ยนไต
-  ตับที่เป็นไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ ซี ที่ยังไม่สงบ ควรได้รับการรักษาให้เรียบร้อยก่อน มิฉะนั้นแล้วหลังการ
   ผ่าตัดเปลี่ยนไต เชื้อไวรัสอาจกำเริบและเพื่มจำนวนมากเป็นทวี  เพราะหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยต้อง
   รับประทานยาประเภทสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ง่าย ทำให้เกิดเลือดออกจาก
   แผลในกระเพาะได้
- ระบบเลือด ควรดูเกล็ดเลือดและตรวจดูการแข็งตัวของเลือด เพราะถ้าเลือดหยุดยากอาจจะทำให้เสียเลือด
   มากในระหว่างการผ่าตัด ควรแก้ไขก่อนทำก่รผ่าตัด การตรวจดูเส้นเลือดที่จะนำไตใหม่ไปต่อมีความจำเป็น
   ในบางรายที่มีสภาพของเส้นเลือดแข็งและมีแคลเซี่ยมไปเกาะอยู่ที่ผนังเส้นเลือด ซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุ
   และโรคผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง

  การทำแม็ชชิ่ง (Matching ) คืออะไร 
การทำแม็ชชิ่ง คือการเจาะเลือดของผู้รอรับไตมาผสมกับเซลล์ของผู้บริจาคไต เพื่อดูว่าเข้ากันได้หรือไม่
จะเกิดปฏิกริยาต่อต้านรุนแรงหรือไม่ถ้าใส่ไตนี้เข้าไปในตัวของผู้รับ

  การทำแม็ชชิ่งมีความสำคัญอย่างไร 
การตรวจนี่มีความสำคัญเป็นอันมาก เพราะถ้ามีปฏกริยาขึ้นแสดงว่าเนื้อเยื่อเข้ากันไม่ได้ จะไม่สามารถทำ
การปลูกถ่ายไตได้ มิฉนั้นจะเกิดผลรุนแรงต่อต้านเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

  ต้องทำแม็ชชิ่งทุกครั้งก่อนที่จะมีการปลูกถ่ายไตใช่หรือไม่ 
การทำแม็ชชิ่งจำเป็นต้องทำทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เพื่อตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน
  การรอปลูกถ่ายไต รอนานหรือไม่ นานเท่าใด 
การรอปลูกถ่ายไต จะนานแค่ไหน คงจะบอกยาก ขึ้นอยู่กับโชคและดวงเสียส่วนหนึ่ง ที่ว่าคือผู้บริจาคไต
นั้นมีเนื้อเยื่อที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่รอรับมากน้อยแค่ไหน บางท่านอาจรอเพียงไม่กี่เดือน ส่วนบางท่าน
อาจต้องรอเป็นปีๆ ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย 2-3 ปี


  แหล่งที่มาของไตได้มาจากที่ใดบ้าง 
ไตที่นำมาใช้ปลูกถ่ายได้มาจาก
- คนบริจาคที่ยังมีชีวิต
- คนบริจาคที่เสียชีวิตแล้ว

  คนบริจาคที่มีชีวิตหมายถึงใคร 
ตามกฏหมายของแพทยสภาที่ประเทศไทยถือปฏิบัติอยู่ คนบริจาคที่มีชีวิตต้องเป็น
- ญาติโดยทางสายเลือด
- สามีหรือภรรยา
ซึ่งรวมถึงพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หลาน และญาติ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นญาติโดยทางสายเลือดอย่างแท้จริง
ทั้งทางด้านการแพทย์และหรือทางด้านกฏหมาย ผู้บริจาคและผู้รับบริจาคควรมีเลือดกรุ๊ปเดียวกันหรือเป็นกรุ๊ป
เลือดที่เข้ากันได้ และผลการทดสอบเข้ากันได้ของเลือดจะต้องไม่มีปฏิกริยาต่อต้านกันสำหรับสามี/ภรรยาที่จะ
บริจาคไตให้คู่ครองของตน จะต้องแต่งงานโดยมีทะเบียนสมรสมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และหรือมีลูกสืบสกุลที่เกิด
จากสามีภรรยาคู่นั้น

  คนบริจาคที่เสียชีวิตแล้ว หมายถึงใคร 
หมายถึง ผู้บริจาคที่เสียชีวิตหรือตายแล้ว การตายนี้ได้รับการพิสูจน์และยืนยันโดยคณะแพทย์ และญาติผู้ตาย
แสดงความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของผู้ตายคนนั้น
ขั้นตอนในการวินิจฉัยการตายและการรับบริจาคอวัยวะ ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของแพทยสภาและของ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยอย่างเคร่งครัด

  ผู้บริจาคที่มีชีวิต ต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรบ้าง 
ต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจ ปัสสาวะ อัลตราซาวน์ ตรวจคลื่อนหัวใจอย่างละเอียด เพื่อให้มี
ความแน่ชัดว่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ผู้บริจาคต้องมีความเข้าใจในเรื่อง
การบริจาค มีความตั้งใจ เต็มใจ ที่จะช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ ปราศจากอามิสสินจ้างตอบแทน

  ภายหลังการบริจาคไต ผู้บริจาคไตจะเป็นอย่างไรบ้าง 

ผู้บริจาคไตจะเหลือไตเพียงข้างเดียว เพียงพักฟื้น 2-4 สัปดาห์ ก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้บริจาค
จะยังคงมีสุขภาพปกติ แข็งแรงเหมือนคนที่มีไต 2 ข้างตามปกติ สามารถทำงาน ออกกำลังกาย เดินทาง และมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติ เพียงแต่ควรระมัดระวังดูแลไตที่เหลือไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อไต

  เกณฑ์ในการวินิจฉัยการตายมีอย่างไรบ้าง 
แพทย์ในประเทศไทยสามารถให้การวินิจฉัยการตายของคนไข้ได้ โดยยึดหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยแพทยสภา
 เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าคนไข้มีแกนสมองไม่ทำงานอย่างถาวร โดยมีสาเหตุที่ชัดเจน ถือว่าแกนสมองตาย ถือว่า
สมองตาย จึงจะถือว่าเป็นการตายที่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าหัวใจยังเต้นอยู่ก็ตาม ญาติของผู้ตายในลักษณะนี้ควรและ
สามารถแสดงความประสงค์บริจาคอวันวะของผู้ตายได้
การเสียชีวิตที่ชัดเจนแบบข้างต้น ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และมีการบาดเจ็บของสมอง
อย่างรุนแรงและถาวร หรืออาจจะมาจากผู้เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกและสมองถูกทำลายอย่างรุนแรง
ถาวร

  หลังจากเสียชีวิตแล้ว ไตสามารถเก็บไว้ได้นานเท่าไร 
ถ้าการเสียชีวิตนั้นได้รับการวินิจฉัยโดยใช้เกณฑ์สมองตายโดยที่หัวใจยังเต้นอยู่ ไตก็จะสามารถใช้บริจาคได้
ตราบเท่าที่หัวใจยังเต้นอยู่ เมื่อไตที่บริจาคถูกนำออกจากร่างกายของผู้บริจาคแล้ว ได้รับการเก็บรักษาอย่าง
ถูกวิธี ก็สามารถเก็บได้นานถึง 48 ชม.





การลงทะเบียน รับบริจาคอวัยวะ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะคืออะไร 
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะเป็นหน่วยงานของสภากาชาดไทยเป็นองค์กรการกุศลที่เข้ามามีบทบาทในกระบวนการ
บริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ โดยมีหน้าที่
- รับแจ้งเมื่อมีผู้บริจาคอวัยวะ เป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างโรงพยาบาลที่มีผู้บริจาคอวัยวะกับ
  โรงพยาบาลที่มีผู้รอรับอวัยวะ
- จัดสรรอวัยวะให้แก่ผู้รอรับลงทะเบียนไว้ด้วยควมเสมอภาค และถูกต้องตามหลักวิชาการ
-รับลงทะเบียนผู้รอรับอวัยวะจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ
- สนับสนุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้บริจาคอวัยวะสมองตายได้แก่ การตรวจเนื้อเยื่อ ไวรัสตับอักเสบ
  บี / ซี  ไวรัสเอดส์ และการตรวจอื่นๆที่จำเป็น
- รับแจ้งความจำนงบริจาคอวัยวะจากผู้ที่มีจิตกุศล ตั้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่
- สนับสนุนให้มีการบริจาคอวัยวะโดยการประชาสัมพันธ์ ให้การศึกษาในเรื่องการบริจาคและการปลูก
  ถ่ายอวัยวะ

  ผู้ต้องการบริจาคไต ควรแจ้งก่อนว่าต้องการบริจาคนานแค่ไหน หรือว่าตัดสินใจก่อนเสีย
  ชีวิต จะยุ่งยากหรือไม่ 
ผู้ที่ต้องการบริจาคไต จะแจ้งความจำนงบริจาคในเวลาไหนก็ได้ ก่อนจะเสียชีวิตเพียงแต่เมื่อได้แจ้งความจำนง
แล้ว ควรบอกให้ญาติผุ้ใกล้ชิดทราบ เพราะหากเมื่อเสียชีวิตในภาวะสมองตาย ผู้เสียชีวิตจะไม่สามารถตัดสินใจ
ในช่วงนั้นได้ ญาติจะเป็นผู้ตัดสินใจให้และเซ็นยินยอมบริจาคอวัยวะ และแจ้งให้แก่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะหรือ
แพทย์ผู้รักษา ในเรื่องที่ต้องการบริจาคอวัยวะ

  ผู้รับบริจาค ควรทำอย่างไรเพื่อให้ได้ไต 
1. ตรวจสอบว่าแพทย์ผู้รักาาได้ส่งข้อมูลผู้รอรับทั่งหมด มาลงทะเบียนไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
    เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2. เตรียมพร้อมเพื่อรับการติดต่อจากพยาบาลผู้ประสานงานการปลูกถ่ายไตตลอด 24 ชั่วโมง เช่น
   2.1 ควรมีวิทยุติดตามตัวหรือโทรศัพท์มือถือเปิดให้ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง
   2.2 ให้เบอร์โทรศัพท์สถานที่ๆผู้รอรับจะอยู่เป็นประจำ เช่นที่บ้าน ที่ทำงาน ญาติเพื่อนที่ใกล้ชิด
   2.3 หากเดินทางไปต่างจังหวัด ต้องให้ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้สามารถติดต่อได้
   2.4 ควรให้เบอร์โทรศัพท์ของญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อจะให้ช่วยติดต่อให้ หากไม่สามารถติดต่อผู้รอรับ
           โดยตรงไม่ได้
3. พบแพทย์ตามกำหนด หากมีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์โดยทันที
4. ตรวจทางห้องปฏิบัติต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
5. ส่งเลือดทุกเดือน เพื่อตรวจความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ
6. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงไม่ไปที่ๆเสี่ยงต่อการติดโรค รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. เตรียมค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไต

  ติดต่อผู้ได้รับอวัยวะ เมื่อมีผู้บริจาคอวัยวะได้อย่างไร 
เมื่อมีผู้บริจาคเสียชีวิตลง ศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะตรวจสอบข้อมูลผู้เสียชีวิตและตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อดูว่าอวัยวะนั้นสามารถทำงานได้ดีหรือไม่ หากทำงานได้ดีก็จะขอบริจาค เมื่อญาติยินดีบริจาค
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะตรวจชนิดเนื้อเยื่อ (HLA) ของผู้บริจาค เมื่อได้ผลเนื้อเยื่อแล้ว ก็จะนำไปเปรียบเทียบ
กับผู้รอรับอวัยวะที่มีกลุ่มเลือดเดียวกันกับผู้บริจาคที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะแล้ว
คำนวนคะแนนเพื่อหาผู้รอรับรับที่มีคะแนนสูงสุด จากสิ่งต่อไปนี้
- ชนิดของเนื้อเยื่อ
- ผลการตรวจ แอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อ (HLA-Antibody-PRA)
- ระยะเวลาที่รอรับอวัยวะ
- อายุของผู้รอรับ
- การได้รับไตจะแบ่งผู้รอรับออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้รอรับอวัยวะทั้งหมดไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะได้รับ ไต 1 ข้าง
กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ลงทะเบียนไว้กับโรงพยาบาลที่มีผู้บริจาคอวัยวะ (donor hospital)หรือโรงพยาบาลที่ทำหน้าที่
ทีมผ่าตัดนำอวัยวะออก จะได้รับไต 1 ข้าง
โดยผู้รอรับที่มีคะแนนสูงสุดในกลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 4 คน รวมทั้งหมด 8 คน จะนำเลือดมาตรวจสอบความ
เข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ ผู้ที่คะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มและผลการตรวจความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อผ่าน
จะเป็นผู้ได้รับไต
เมื่อทราบคะแนนสูงสุด ของแต่ละกลุ่ม ศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะแจ้งไปยังโรงพยาบาลที่ดูแลผู้รอรับนั้น
เพื่อสอบถามความพร้อมในการรับปลูกถ่ายไตของผู้รอรับ หากพร้อมพยาบาลประสานงานการปลูกถ่ายไต
จะแจ้งกลับมายังศูนย์รับบริจาคอวัยวะเพื่อตรวจความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ ศูนย์รับบริจาคจะแจ้งกลับไปอีกครั้ง
ผุ้ที่ได้รับไตก็จะสามารถทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้

โอกาสในการได้ไตของผู้รับอวัยวะ มีเท่าไร 
จากสถิติ การปลูกถ่ายไตจากผู้เสียชีวิตสมองตาย และผู้รอรับไตในปี พ.ศ. 2542 ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
สภากาชาดไทย พอจะพยากรณ์โอกาสในการได้ไต ได้ดังนี้

ผู้ลงทะเบียน
ผู้ที่ส่งเลือดตรวจ
ผู้ที่ได้ปลูกถ่ายไต
โอกาสได้รับไต
กรุ๊ป เอ
264
120
31
1:3.9 25%
กรุ๊ป บี
361
163
32
1:5 20%
กรุ๊ป เอบี
73
28
10
1:2.8 35%
กรุ๊ป โอ
442
206
56
1:3.7 27%
รวม
 1140
517
129
1:4 25%

ระยะเวลาในการรอไตโดยเฉลี่ยตั้งแต่ลงทะเบียนเป็นผู้รอรับจนได้รับการปลูกถ่ายไต
กรุ๊ป เอ
  2 ปี 11 เดือน
กรุ๊ป บี
  3 ปี 3 เดือน
กรุ๊ป เอบี
  2 ปี 8 เดือน
กรุ๊ป โอ
  2 ปี 10 เดือน
รวม
  2 ปี 11 เดือน



  การผ่าตัดมีกี่วิธี ได้แก่อะไรบ้าง 
การผ่าตัดเปลี่ยนไต คือการนำไตจากผู้บริจาค ต่อกับเส้นเลือดและทางเดินปัสสาวะในร่างกายของผู้ป่วยโรคไตวาย
 เพื่อให้ไตนั้นทำงานทดแทนไตที่เสียไป แหล่งของไตมี 2 แหล่งด้วยกัน
- ได้ไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตจากสมองตาย
- ได้ไตจากผู้มีชีวิต ซึ่งต้องเป็นญาติโดยตรงทางสายโลหิต หรือญาติสายตรง ดีที่สุด คือพี่น้องท้องเดียวกัน รองลงมาคือ พ่อ แม่ ลูก ที่ไม่ค่อยดีนักคือ ป้า น้า อา หลานทั้งนี้ต้องมีการตรวจเนื้อเยื่อที่พิสูจน์ความเป็นญาติ

สำหรับสามีภรรยา ก็อาจบริจาคให้กันได้ แต่มีเงื่อนไขเช่นต้องแต่งงานจดทะเบียนอย่างน้อย 3 ปี หรือมีบุตรด้วยกัน
เป็นต้น ที่สำคัญเนื้อเยื่อต้องเข้ากันได้ด้วย 

นอกเหนือจากนี้กฏหมายยังไม่อนุญาต
  ทำผ่าตัดอย่างไร 
จะถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ ฝดดยเมื่อได้ไตมาแล้ว จะนำมาต่อเข้ากับเส้นเลือดของร่างกายบริเวณหน้าท้องน้อย
 ซึ่งโดยปกติแล้วถือว่าไม่ยากนัก และขนาดก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ หลังการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยต้องอยู่ในห้อง
แยกเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเป็นไอซียู อาจเป็นหอผู้ป่วยที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ หรือห้องเดี่ยว
ก็ได้แต่ต้องใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อเป็นกรณีพิเศษ เพราะผู้ป่วยในระยะแรกจะได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
เพื่อป้องกันปฏิกริยาต่อต้านอวัยวะของร่างกายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปทำให้ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อลงลง ผู้ป่วยอาจ
ได้รับเชื้อจากญาติ หรือผู้มาเยี่ยมได้ง่ายกว่าคนปกติ จึงต้องมรกฏป้องกันเอาไว้เพื่อผู้ป่วยเองจะค่อยๆลดยา
กดภูมิต้านทานลง จนไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างใด อาจใช้ระยะเวลาในโรงพยาบาลระหว่าง 2-6 สัปดาห์

  การพักฟื้นหลังออกจากโรงพยาบาล 
หลังออกจากโรงพยาบาล แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยทำงานเบาๆที่ไม่มีความเสี่ยงไม่ว่าจากอุบัติเหตุ หรือ
งานที่จะเสี่ยงจากโรคที่จะได้รับจากบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการติดเชื้อเช่น ไข้หวัด โรคปอด หรือแผลเป็นหนอง
สามารถนอนกับสามีภรรยาได้ตามปกติ แพทย์จะแนะนำให้กลับไปทำงานได้หลังจาก 1 เดือน ถ้าไม่มีอะไร
แทรกซ้อน ค่อยๆออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อฝึกฝนและเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายท่าน
ที่ฝึกฝนจนสามารถแข่งขันกีฬาแทบทุกชนิดได้

  ความยากง่ายในการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง หรือผลของการผ่าตัดไม่ดี มักพบได้จาก
- อายุมากเกิน 55 ปี อาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยในการผ่าตัด และการทำงานของเส้นเลือดอาจไม่ดี
ในทางกลับกัน เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 7 ปี เส้นเลือดเล็กแปริมาตรในช่องท้องเล็ก อาจเป็นปัญหาทางด้านทคนิคได้
- โรคที่มีผลเสี่ยงต่อเส้นเลือด เช่นโรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดตีบตันจากผู้ที่สูบบุหรี่จัด
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริจาคหรือผู้ที่รอรับไต เช่น ไวรัสตับอักเสบโรคเอดส์ วัณโรคปอด เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เมื่อต้องได้รับการผ่าตัด
อย่างไรก็ตามอุปสรรคต่างๆที่แพทย์รักษาประจำจะตรวจตราและแนะนำทางออกที่ดีให้กับท่านตลอดเวลา
โปรดคำนึงเสมอว่าการผ่าตัดเปลี่ยนไต นอกจากแพทย์จะหวังผลสำเร็จให้ท่านหายแล้ว ความปลอดภัยของ
ผู้ป่วยทั่งผู้บริจาคที่มีชีวิตอยู่หรือผู้รับบริจาคไตเอง เป็นสิ่งที่แพทย์ในทีมต้องคำนึงถึงเป็นสิ่งแรก จึงได้มี
มาตรการต่างๆออกมาโดยอาศัยประสบการณ์จากเวชปฏิบัติ



  โอกาสประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไต มีมากน้อยแค่ไหน 
ผลสำเร็จในการปลูกถ่ายไตขึ้นกับหลายปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือชนิดของไตที่ได้รับ ดังนี้  
ไตจากผู้มีชีวิต        ผลสำเร็จใน 1 ปี  ประมาณ 95%
                             ผลสำเร็จใน 5 ปี  ประมาณ 90 %
ไตจากผู้เสียชีวิต     ผลสำเร็จใน 1 ปี  ประมาณ 85 %
                             ผลสำเร็จใน 5 ปี  ประมาณ 70 %

  สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้การปลูกถ่ายไต แล้วเกิดไตเสื่อมอีก 
สาเหตุที่ทำให้ไตหลังการปลูกถ่ายเสื่อม มีดังนี้
- การรับประทานยาไม่สมำเสมอ ลืมทาน ทานมากเกิน ทานยาน้อยไป
- การกำเริบของโรคไตเดิม
- การต่อต้านไตแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
- การติดเชื้อโรคในไต
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต หากไตไม่ทำงานไม่ว่าจะเกิดจากการต่อต้านแบบเฉียบพลัน หรือเกิดจากเทคนิคการ
ผ่าตัดจนไตเสีนแล้วนั้น จำเป็นต้องผ่าเอาไตออก แต่ถ้าไตทำงานไปได้นานแล้ว และเกิดการเสื่อมอย่างช้าๆ
อย่างเรื้อรังจนไม่ทำงานไปในที่สุด ในกรณีหลังนี่ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าเอาไตออก

 หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไตสำเร็จแล้ว เส้นเลือดที่ใช้ฟอกเลือดต้องผ่าตัดปิดหรือเอาออกหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาเส้นเลือดดังกล่าวออก จะกระทำต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเส้นเลือดเอง
ไตที่ผ่าตัดเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว จะสามารถทำงานต่อได้ตลอดชั่วอายุขัย ตราบใดที่ไม่มีดรคแทรก หรือ
โรคไตเก่ากำเริบ





  ทำไมหลังการปลูกถ่ายอวัยวะแล้วต้องให้ยาเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง
ยาที่ใช้หลังการผ่าตัดมีอยู่หลายกลุ่ม เพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน เช่น
- ยากดภูมิต้านทานของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสลัดไต (Acute rejection)
- ยาที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากได้ยากดภูมิคุ้มกันในขนาดสูง
  จะมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยปกติยาป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้ จะให้ไปอย่างน้อย 3 เดือน
  และอาจจะต้องให้ซ้ำถ้ามีภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกดอย่างมาก โดยเฉพาะหลังได้รับ
  ยารักษาภาวะสลัดไต
- ยารักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นยารักษาเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่
  ในเกณฑ์ปกติ ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาลอไขมัน ยาลดบวม ยาที่เพิ่มความแข็งแรงของ
  กระดูก  ยาที่เพิ่มความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในภาวะโลหิตจาง
- ยาวิตามินเพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกาย

  ภาวะสลัดไต (Rejection) คืออะไร
- ตามปกติ ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย เม็ดเลือดขาวและส่วนต่างๆของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  จะถูกกระตุ้นให้สร้างสารเคมีมาทำการย่อยสลายสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ
- ไตที่ได้รับการปลูกถ่ายในร่างกาย ก็ถูกมองโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเหมือนกัน
  เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ที-ลิมโฟซัตย์ จะทำให้เกิดการอักเสบและการทำลายเนื้อเยื่อของไต ซึ่งเราเรียกภาวะ
  เช่นนี้ว่า ภาวะสลัดไต ภาวะสลัดไตมี 2 แบบ คือแบบที่เป็นอย่างเฉียบพลันและรุนแรง และแบบที่ค่อยเป็น
  ค่อยไป

  ยาชนิดใดบ้างในปัจจุบันที่ใช้รักษาภาวะสลัดไต (Rejection)
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะสลัดไต มีอยู่หลายตัว เช่น
สเตียรอยด์  จะให้เป็นยาฉีด (Methylprednisolone) หรือยากิน (Prednisolone) ในขนาดสูง
ประมาณ 3 วัน แล้วประเมินผลการรักษาใน 3-4 วัน ถ้าดีขึ้นจะค่อยๆลดขนาดลง ถ้าไม่ดีขึ้นจะต้องใช้ยา
กลุ่มอื่น
โอเคที-สาม (OKT-3) เตรียมจากน้ำเหลืองของหนู มีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของ ที-ลิมโฟซัตย์ ได้ผล 95 %
เอทีจี (ATG) เตรียมจากน้ำเหลืองของม้า มีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของที-ลิมโฟซัตย์ได้ผล 90-95%
ธัยโมโกลบูลิน (Thymoglobulin) เตรียมจากน้ำเหลืองของกระต่าย ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำของ
ภาวะสลีดไตได้ดีกว่า เอทีจึ และได้ผลดีเท่ากับ OKT-3
โฟรกราฟ (Prograf) จะใช้เมื่อยาสเตียรอยด์ โอเคที-3 เอทีจี หรือธัยโมโกลบูลิน ไม่ได้ผลในการรักษา
ใช้เวลานานหลายสัปดาห์กว่าจะเห็นผลเต้มที่ ได้ผล 75 %

ในปัจจุบันพบว่า ถ้าผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนไตแล้วหยุดกินยาต่อต้านภาวะสลัดไต จะมีผลทำให้เกิดภาวะสลัดไต
แบบเฉียบพลันและรุนแรง

  ยาที่ใช้รักษาภาวะสลัดไต (Rejection) มีผลข้างเคียงอย่างไร
สเตียรอยด์ (Methylprednisolone) ทำให้ร่างกายมีความต้านทายนต่อการติดเชื้อลดลง มีการติดเชื้อรา
ในช่องปาก น้ำตาลสูง มีแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้ความดันโลหิตสูง อาจทำให้หัวใจเต้มผิดปกติผิดจังหวะ
โอเคที-3 ทำให้เกิดอาการไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อบหอบเนื่องจากน้ำท่วมปอด เพิ่มอัตาการเสี่ยงต่อ
การติดเชื้อไวรัส CMV
เอทีจี (ATG) ทำให้เกิดอาการไข้หนาวสั่น ผื่นคัน เกร็ดเลือดต่ำเพิ่มอีตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัส
CMV โอกาสเกิดการแพ้ยาน้อย
โพรกราฟ (Prograf) ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากพิษต่อตับอ่อน ผมร่วง พิษต่อไตถ้ามีระดับยาในเลือด
สูงเกิน

  ทำไม่ต้องเข้มงวดในขนาดยาที่ใช้
ยาป้องกันภาวะสลัดไต ถ้าใช้ในขนาดที่เหมาะสมและช่วงเวลาที่ถูกต้องจะทำให้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ
สลัดไตลดน้อยลงอย่างมาก ทำให้ร่างกายยอมรับไตที่ปลูกถ่าย โดยไม่ไปทำลายเนื้อเยื่อของไต ดังนั้นหลังจาก
แพทย์ได้ปรับขนาดของยาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้นั้นๆแล้ว การกินยาที่ไม่ถูกต้องตามขนาด หรือตามเวลาที่
กำหนด จะมีผลทำให้ระดับยาในเลือดเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีโอกาสเกิดภาวะสลัดไตหรืออาการแทรกซ้อนจากยา

  ผู้ป่วยจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะสลัดไต
โคยส่วนใหญ่ ในระยะแรกที่เริ่มมีภาวะสลัดไตเกิดขึ้น คนไข้อาจจะไม่มีอาการก็ได้ อาการต่อไปนี้มักพบในภาวะ
สลัดไต
- มีไข้
- เจ็บบริเวณไตที่ปลูกถ่าย
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนปัสสาวะลดลง เพราะไตทำงานไม่ปกติ
- อ่อนเพลีย เนื่องจากมีการคั่งของของเสีย

การตรวจยืนยันภาวะสลัดไตที่แน่นอน คือการทำการตัดเนื้อไตไปตรวจ ปริมาณเนื้อไตที่จะใช้ในการตรวจ จะเท่า
กับเส้นขนมจีนที่ยาว 2-3 ซม. ชิ้นเนื้อจะต้องได้รับการย้อมพิเศษ และส่องกล้องจุลทรรศน์ ว่ามีลักษณะการเปลี่ยน
แปลงเนื่องจากภาวะสลัดไตหรือไม่ (ท่อไตอักเสบ เส้นเลือดฝอยในไตอักเสบ มีภาวะบวม เลือดออกในเนื้อเยื่อ
ระหว่างท่อไต

ขณะนี่ยังไม่มีการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจทางเอ็กซ์เรย์ ที่ใช้บอกภาวะสลัดไตได้แม่นยำและ
ถูกต้องเท่ากับการตรวจเนื้อเยี่อไต




  การปฏิบัติตัวหลังการเปลี่ยนไต มีความเสี่ยงอะไรบ้างหลังการเปลี่ยนไต
ไตไม่ทำงานทันที ที่ใส่เข้าไปในร่างกาย
   ป้องกันได้ด้วยการตรวจการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อให้ถูกต้องก่อนทำการปลูกถ่ายไต
-  
การสลัดไตอย่างเฉียบพลัน
   มีประมาณ 20-40% ในปีแรก ขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้กดภูมิต้านทานอวัยวะที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่สามารถรักษา
   ได้ด้วยยาสเตียรอยด์ ซึ่งไม่แพงมากนัก มีจำนวนน้อยที่ต้องใช้ยาที่มีราคาแพงเพื่อควบคุมการสลัดไต
-  
การสลัดไตอย่างเรื้อรัง
   คือการเสื่อมสภาพของไตอย่างช้าๆ โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้
   โดยเด็ดขาด แต่สามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดยการควบคุมโรคที่อาจเกิดร่วมด้วยให้ดี เช่น ความดันโลหิต
   ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และต้องกินยาลลดภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะสลัดไต
   อย่างเฉียบพลัน ซึ่งจะมีผลทำให้ไตมีอายุยืนยาวขึ้น
-  
การติดเชื้อจากเชื้อทั่วไป
   หลังการปลูกถ่ายไต ภูมิต้านทานร่างกายจะลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายจากเชื้อทั่วๆไป เช่น ปอดบวม กรวยไต
   อักเสบ หรือจากเชื้อพวกฉวยโอกาส เช่น ไวรัส CMV , Herpes, EB virus เชื้อรา เชื้อพยาธิ วัณโรค
   และอาจต้องกินยาเพื่อป้องกันพวกเชื้อฉวยโอกาสเหล่านี้ด้วยในระยะแรกหลังการผ่าตัด
มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
   หลังการปลูกถ่าย ภูมิต้านทานร่างกายลดลง ทำให้เกิดโอกาสเกิดมะเร้งได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วๆไป โดยเฉพาะใน
   ผู้สูงอายุ หรือผู้ได้รับการปลูกถ่ายและรับทานยาลดภูมิต้านทานมานานแล้ว มะเร็งที่มักพบได้บ่อยได้อก่
   มะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งของไตเก่า
-  
ภาวะแทรกซ้อน
   ความดันโลหิตสูง อาจเป็นจากโรคที่มีมาก่อนการผ่าตัด หรือเกิดจากยาที่ใช้ในการลดภูมิต่อต้านอวัยวะ เช่น
   เพร็ดนิโซโลน นีโอรัล หรือ โปรกราฟ ก็มีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
   โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ป่วยปลูกถ่ายไต มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าบุคคลทั่วไป อาจเพราะมีโอกาส
   มากที่มีความดันโลหิตสูง ไขมันในโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดห้วใจตีบตัน
   เบาหวาน ยาเพร็ดนิโซโลน และโปรกราฟ ทำให้มีโอกาสเกิดเบาหวานได้ง่ายขึ้น หรือเบาหวานที่เป็นอยู่แล้ว
   ควบคุมได้ยากขึ้น
   ไขมันในโลหิตสูง พบได้สูง 50-80% และอาจเกิดจากการใช้ยาเพร็ดนิโซโลน และนีโอลัล ถ้าจำเป็นก็
   ต้องใช้ยาลดไขมันจำพวกกลุ่ม สตาติน เช่น ลิปิตอร์ หรือ โซคอร์
   กระดูกผุกร่อน ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย มักมีภาวะกระดูกขาดแคลเซี่ยมอยู่แล้ว เมื่อได้รับยา
   เพร็ดนิโซโลนก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดกระดูกผุได้ง่าย บางรายอาจถึงต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกตะโพกก็มี
   แผลในกระเพาะอาหาร ยาเพร็ดนิโซโลน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับ
   ยาลดกรดในกระเพาะร่วมด้วย
ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการลดภูมิต้านทานอวัยวะแปลกปลอม
   ยาแต่ละตัวจะมีผลข้างเคียงต่างๆ กัน และไม่จำเป็นจะต้องเกิดกับทุกคน
   นีโอรัล  ขนขึ้นตามหน้าและตัว เหงือกหนาขึ้น พิษต่อไต ไขมันในเลือดสูง กรดยูรอคสูง ความดันโลหิตสูง
   โปรกราฟ  พิษต่อไต เบาหวาน มือสั่น ผมร่วง
   เพร็ดนิโซโลน สิว หน้ากางขึ้น น้ำหนักขึ้น แผลในกระเพาะ เบาหวานลงไต โรคตับอักเสบเรื้อรัง    

  
  หลังผ่าตัดไปแล้วจะต้องตรวจเช็คอะไรอีกบ้าง
ตรวจสถานะการทำงานของไต โดยดูที่ ครีอาตินีนว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
ว่ามีการต่อต้านไตหรือไม่ มีภาวะยาเป็นพิษต่อไตหรือไม่ เพื่อปรับขนาดของยา

ควรตรวจเช็คสุขภาพประจำปี
- ตรวจหามะเร็ง การตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะทำให้มีโอกาสรักษาหายชาดได้
- การฉีดวัคซีน เช่น ไข้หวัดใหญ่ สามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้ว ต้องควบคุมความดันโลหิตเหมือนตอนฟอกไตหรือไม่
ยังจำเป็นต้องควบคุมความดันโลหิต
สาเหตุของความดันโลหิตสูงหลังการผ่าตัดเปลี่ยน
  ยา เช่น ยาเพร็ดนิโซโลน นีโอรัล  โปรกราฟ
  ภาวะสลัดไต ทั้งอย่างเฉียบพลันและเรื้อรัง
  รอยต่อหลอดเลือดแดงของไตใหม่กับหลอดเลือดแดงของร่างกายตีบ บางครั้งการตีบของเส้นเลือดนี้
  อาจทำให้ไตใหม่เสื่อมสภาพลงไปด้วย ก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
  โรคไตอักเสบเรื้อรังที่ไตเก่าและอาจตามมาเกิดในไตใหม่ด้วย
การรักษา ควรควบคุมให้อยู่ต่ำกว่า 130/85 มม. ปรอท เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัว
  ที่หัวใจ สมอง และ ไต

  ข้อควรระมัดระวังในการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด
- การรับประทานอาหารที่สะอาดให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักด้วย
  อาหารเฉพาะ เช่นในผู้ที่เป้นความดันโลหิตสูง ควรลดอาหารรสเค็ม เกลือ ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ควร
  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
- ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นตัวก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
- ผู้เปลี่ยนไต จำเป็นต้องทานยาเพื่อป้องกันการสลัดไต  ซึ่งยากลุ่มนี้จะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายลดลง เสี่ยงต่อ
   การติดเชื้อต่างๆสูงขึ้นกว่าคนปกติ และเมื่อติดเชื้อแล้วอาการก็จะรุนแรงมากกว่าด้วย ดังนั้นผู้ผ่าเปลี่ยนไต
   ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไปสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อทุกชนิด โดยเฉพาะที่ติดง่ายเช่น ไข้หวัด
- ในการทำฟัน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบด้วยว่าทานยาอะไรอยู่ เพื่อแพทย์จะได้ระมัดระวังในการให้ยา
   เพราะอาจมีผลต่อยาประจำโดยเฉพาะยา Cyclosporin A
- ไม่ควรสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงในบ้าน โดยเฉพาะ 6 เดือนแรกหลังการผ่าตัด เพราะอาจติดหรือได้รับเชื้อจากสัตว ์ 
   ได้ง่าย เพราะมีภูมิต้านทานต่ำอยุ่
- โรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด นั้นไม่เป็นปัญหามากนัก แต่ก็ควรถ่ายเอ็กซ์เรย์ปอดเป็นระยะ
- โรคประจำตัวเดิมก่อนเปลี่ยนไต เช่น SLE เบาหวาน หอบหืด จะต้องได้รับการดูแลรักษาต่อตามเดิม แต่ใน
   ผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องได้รับการปรับขนาดยาใหม่ เพราะเพร็ดนิโซโลนจะทำให้เบาหวานสูงขึ้น 

  ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดมีอะไรบ้าง ใช้เวลานานเท่าใดหลังผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มี
- ร่างกายไม่รับไตใหม่ ถ้าร่างกายต่อต้านมาก อาจต้องผ่าตัดเอาไตออก แล้วกลับไปรักษาโดยวิธีเดิม CAPD
   คอยการผ่าตัดรอไตใหม่
- โรคของไตเดิมอาจมาเกิดซ้ำที่ไตอันใหม่
- พิษข้างเคียงจากยากดภูมิต้านทาน เช่น พิษต่อตับ ไต ระบบประสาท ตา เป็นต้น  แพทย์จะคอยให้คำแนะนำ
   ป้องกัน แก้ไขปัญหาพิษข้างเคียงที่เกิดขึ้น
- โรคติดเชื้อ ผู้ป่วยได้รับยากดภูมิต้านทาน จะทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย เมื่อมีการระบาดของดรคติดต่อ
   ต้องเพิ่มการระมัดระวังเป้นพิเศษ ไม่อยู่ในที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท หรือผู้ป่วยโรคติดต่อ


  ค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไตประมารเท่าใด
ค่าผ่าตัด
กรณีที่ได้ไตจากผู้บริจาคจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย จะเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะในการตรวจเนื้อเยื่อ
ประมาณ 10000 บาท เท่านั้น
ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ค่ายา ประมาณ 200000 บาท ในโรงพยาบาลของรัฐ
ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ค่ายา ประมาณ 300000-400000 บาท ในโรงพยาบาลของเอกชน

ค่าเตรียมการ
ค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวรับไต ค่าตรวจเลือด ค่าตรวจเนื้อเยื่อประมาณ 15000 บาท
ในกรณีที่ผู้บริจาคเป็นผู้มีชีวิต ญาติ ต้องรวมค่าตรวจของผู้บริจาคอีกด้วย ค่าตรวจก่อนการผ่าตัด
ค่าตรวจเลือด ตรวจพิเศษ 10000 บาท
ค่าตรวจเนื้อเยื่อ                10000 บาท
รวมยอดประมาณ            20000 บาท

ค่ายาหลังการผ่าตัด
หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ต้องกินยากดภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต ค่ายาใน 1-2 ปีแรก ประมาณ เดือนละ
20000 บาท ปีต่อๆไป ประมาณเดือนละ 10000 ยาท

   
  สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม ได้หรือไม่
- ถ้าผู้ป่วยเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เบิกค่าตรวจได้ในโรงพยาบาลของรัฐ ตามระเบียบของ
  กระทรวงการคลัง ในดรงพยาบาลเอกชนเบิกได้น้อยมาก
- ถ้าอยู่ในระบบประกันสังคมหรือผู้มีรายได้น้อย ในปัจจุบันยังเบิกไม่ได้

ผู้บริจาคไตที่ยังมีชีวิต จะไม่สามารถเบิกค่าตรวจค่าผ่าตัด ใดทั้งนั้น

  ข้อควรและไม่ควรปฏิบัติหลังได้รับการปลูกถ่ายไตแล้ว
- ผู้ป่วยที่ปลูกไตแล้ว สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรเลือกลักษณะงานที่เหมาะสม งานที่สกปรก สิ่งแวดล้อม
   ที่ไม่สะอาด อับชื้น ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
- ควรบอกนายจ้างให้ทราบ เพื่อจะได้จัดงานที่เหมาะสมให้ จัดการประกันสุขภาพตามสิทธิ
- ไม่ควรออกแรง ทำงานหักโหมจนเกินไป ผักผ่อนเท่าที่จำเป็น
- การไปเที่ยว ควรเลือกสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ควรมีโรงพยาบาลที่เข้าถึงได้ง่าย
- สามารถขับขี่ยานพาหนะได้ตามปกติ
- สามารถมีลูกได้ตามปกติ สำหรับหญังอาจมีปัญหาในการตั้งครรภ์ได้
- สามารถเล่นกีฬา ออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่อย่าให้หักโหมจนเกินไป

จากใจ....สู่ไต....(ก๊อปปี้มาจากพันธุ์ทิพ)


เป็นเรียงความ...เก็บไว้อ่าน..ตอนจะบาดไตให้แม่
 จากใจ....สู่ไต.... 
ติดต่อทีมงาน 

จากใจ....สู่ไต....
ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งมาให้และถามมาทางหลังไมค์นะคะ ขอบคุณมากค่ะ
ขอเล่าประสบการณ์ของคนที่เป็นผู้บริจาคนะคะ
เราบริจาคไตให้สามีค่ะ คือสามีป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและได้ล้างไตทางช่องท้องอยู่ 1 ปี (กระทู้เก่า  ฤานี่เป็นปาฏิหาริย์แห่งรัก)http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2011/03/L10391049/L10391049.html
การยินยอมให้ตัดอวัยวะของเราออกไปทั้งๆที่มันยังทำงานได้ดีเพื่อแบ่งปันให้ใครสักคนหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย.....แต่เราก็พร้อมที่จะทำเพื่อคนที่เรารักค่ะ
การปลูกถ่ายไตชนิดที่ผู้บริจาคไตยังมีชีวิตอยู่ออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ ประเภทแรกจากผู้บริจาคไตที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา หลาน
ทั้งนี้จะต้องมีความเหมือนกันของเนื้อเยื่อระหว่างผู้บริจาค และผู้รับไตอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
เราเป็นประเภทที่สองเป็นการบริจาคไต ระหว่างสามี-ภรรยา
ทั้งนี้จะต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรสเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี
นับจากวันที่เริ่มทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางหน้าท้อง
ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายต้องมี หลักฐานว่ามีลูกที่เกิดจากคู่สามี-ภรรยาจริง
อายุของลูกต้องไม่น้อยกว่า 2 ปี และต้องพิสูจน์ความเป็นสายเลือดลูกนอกสมรส
อนึ่ง ผู้บริจาคไตชนิดยังมีชีวิตอยู่ทั้งสองประเภทดังกล่าว จะได้รับการตรวจร่างกายและจิตใจอย่างละเอียดว่าปกติโดยสมบูรณ์
เหมาะสมกับการปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายในช่วงอยู่โรงพยาบาลในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตชนิดผู้บริจาคไตยังมีชีวิตอยู่ ประมาณ 100,000-150,000 บาทในโรงพยาบาลรัฐบาล (ข้อมูล http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/feb18/kidney.htm)
เริ่มเข้าสู่กระบวนการของการตรวจผู้บริจาคไตนะคะ
ตรวจครั้งที่ 1 วันที่ 20 -10 – 53
เข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและซักประวัติเบื้องต้นค่ะ ก่อนอื่นต้องดูกรุ๊ปเลือด เรา โอ สามี เอ ก็สามารถเข้ากันได้
คุณหมอก็ตรวจเบื้องต้น และอธิบายถึงขั้นตอนการปลูกถ่ายไตละความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแล้ววัดความดัน ดูน้ำหนัก ส่วนสูง และนัดตรวจเลือด

ตรวจครั้งที่ 2 วันที่ 3 -11-53
ตรวจคลื่นหัวใจ     เอ็กซ์เรย์ปอด     เจาะเลือด 5 หลอด

ตรวจครั้งที่ 3 วันที่ 18 -11-53
ตรวจการทำงานของเส้นเลือดโดยการฉีดสีด้วยสารทึบแสง เพื่อตรวจดูการทำงานของเส้นเลือด
สารทึบรังสีนั้นเป็นสารประกอบอยู่ในกลุ่มของเกลือไอโอดีน ซึ่งพบได้ในอาหารทะเล ดังนั้น จึงเป็นการประเมินเบื้องต้นได้เลยว่า คนไข้จะแพ้ “สี”
หรือไม่ก็ดูกันที่ตรงนี้เป็นข้อแรกๆ  (รู้สึกร้อนวูบวาบเหมือนจะหายใจไม่ออกแต่โชคดีที่ไม่แพ้
แต่ถ้าเป็นคนแพ้พวกอาหารทะเลก็แจ้งได้พยาบาลจะให้ฉีดยาแก้แพ้ค่ะ)

ตรวจครั้งที่ 4 วันที่ 24 -11-53
พบจิตแพทย์  คุณหมอก็จะคุยและถามแบบสบายๆ
เราคิดว่าอาจจะเป็นการประเมินผู้บริจาคว่ากำลังใจเป็นยังไง เข้มแข็งพอไหม โดนหลอกมาหรือเปล่า (อันนี้คิดเองค่ะ)
หมอโรคหัวใจ ก็ดูผลการตรวจคลื่นหัวใจ
ก็สรุปว่าทุกอย่างปกติและร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถบริจาคได้ แต่ต้องรอผลการตรวจเนื้อเยื่อและความเข้ากันได้ว่าเป็นยังไง

ตรวจครั้งที่ 5 วันที่  4 -3-54
เจาะเลือดเพื่อตรวจหาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ (สรุปว่าเข้ากันได้ในระดับที่ญาติให้ญาติ)

ตรวจครั้งที่ 6 วันที่  11 -3-54
เจาะเลือดอีกครั้ง

ตรวจครั้งที่ 7 วันที่  30 -3-54
ตรวจคลื่นหัวใจและตรวจภายใน

ตรวจครั้งที่ 8 วันที่  11 -4-54
เจาะเลือดอีกครั้งและพบหมอที่จะทำการผ่าตัด
คุณหมอก็จะเอาผลการตรวจและอธิบายให้ฟังถึงขั้นตอนที่จะทำ
และบอกว่าจะต้องเลือกเอาไตข้างไหน ของเราเลือกข้างซ้าย
คุณหมอแจ้งว่าเรามีเส้นเลือดดำและแดง อย่างละเส้นทำให้อาจจะง่ายในการผ่าตัด
แล้วคุณหมอก็นัดวันผ่าตัดเลย เป็นวันที่ 19 เมษายน 2554  
ต้องมานอนโรงพยาบาล วันที่ 18 เมษายน 2554

เช้าวันที่ 18 เรากับสามีก็ไปส่งลูกที่โรงเรียนตามปกติ (เรียนซัมเมอร์)
ก็เครียดกันมากเพราะเป็นห่วงลูก แต่ก็ยังดีที่มีพี่สาวและพี่เลี้ยงมาอยู่เป็นเพื่อน
บอกลูกว่ากลับมาตอนเย็นจะไม่เจอพ่อกับแม่เพราะต้องไปนอนโรงพยาบาล
แต่เราก็คุยกับเขาตลอดว่าพ่อแม่กำลังทำอะไรบอกเขาตลอด
และโชคดีที่ลูกสาวอายุแปดขวบของเราเป็นเด็กที่เข้าใจและเป็นกำลังใจให้เสมอ
เขาบอกว่าจะอดทนตอนที่พ่อแม่ไม่อยู่ จะดูแลตัวเองให้ดี ก็อ้อนนิดหน่อยว่าอยากไปหาที่โรงพยาบาลทุกวัน
แต่เมื่อพ่อกับแม่บอกว่าถ้าลูกต้องไปหาพ่อกับแม่ทุกวันต้องนั่งแท็กซี่ไป รถก็ติด ป้าก็ไม่รู้จักโรงพยาบาล
จะลำบากมาก พ่อแม่ก็จะเป็นห่วงมาก
เขาก็บอกงั้นหนูจะรอที่บ้าน
ให้พ่อแม่รีบกลับบ้านและโทรหาทุ๊กกกกวัน
ก็เป็นอันเข้าใจกันค่ะ  (สงสารลูกมาก)
ก็เดินทางมาถึงโรงพยาบาลตอน 8.30 น. แล้วพบคุณหมอ
ก็ให้มาที่เตียงเป็นห้องที่มี 3 เตียง อยู่ชั้น 6
ส่วนสามีก็ได้ห้องพิเศษเดี่ยว(เป็นห้องปลอดเชื้อ) ชั้น 12 ก็มีพยาบาลมาแนะนำขั้นตอนก่อนที่จะรับการผ่าตัด
และเจาะเลือดไปตรวจ และตรวจคลื่นหัวใจ
ใส่สายสวนปัสสาวะ


เช้าวันที่ 19 -4-2554
เราก็เตรียมตัวพร้อมแล้วตื่นตั้งแต่ ตีห้า มีบุรุษพยาบาลมารับ
ครั้งแรกในชีวิตที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดก็ตื่นเต้น
ก็มีวิสัญญีแพทย์มาแนะนำตัวว่าเป็นคนที่จะดมยาสลบ
แต่คุณหมอบอกว่าจะใส่เข้าไปในน้ำเกลือเป็นการทำให้หลับ
และจะเพิ่มทีละน้อยและอธิบายวิธิการว่าจะทำยังไงบ้างก็นอนรอประมาณ 30 นาที
ก็เข้าห้องผ่าตัดในห้องก็มี อาจารย์แพทย์ผ่าตัดทีมละ 2 คนและผู้ช่วยแพทย์อีก 3 คน  วิสัญญีแพทย์ 1 คน
คุณหมอถามเราว่ากลัวไหม ก็ตอบไปว่า ไม่กลัวค่ะ
แล้วก็วิสัญญีแพทย์ก็บอกว่าเขาจะเริ่มทำให้หลับ
โดยฉีดยาเข้าไปในน้ำเกลือ
แล้วเราก็ได้ยินหมอคุยกันว่า หลับแล้วๆ
เราจะทำมือว่ายังๆๆๆๆ แต่มารู้สึกตัวอีกทีก็คือมีคนเรียก คุณคะๆๆๆตื่นๆๆๆๆค่ะ
เราไม่มีแรงพูดเลยทำมือว่าโอเค
แล้วก็ออกมาจากห้องผ่าตัดแต่สลืมสลือ
อยู่จนบุรุษพยาบาลพาขึ้นมาที่ห้องพัก
รู้สึกปวดแผลมากก็ขอยาแก้ปวดทุก 6 ชั่วโมง
รู้สึกอยากหลับตลอดเวลา

วันที่ 20 -4-2554
พยาบาลมาวัดไข้ วัดความดัน ให้ยาแก้อักเสบ
อาการปวดเริ่มทุเลา พยายามขยับบ่อยๆ
พยาบาลเอาสายสวนปัสสาวะออก  ตอนบ่ายเอาน้ำเกลือออก
อาการปวดดีขึ้นมาก พยายามลงจากเตียงเดินไปเดินมาบ่อยๆเพื่อไม่ให้ท้องอืด

วันที่ 21 -4-2554
วันนี้คุณหมอที่ผ่าตัดมาดูแผลแล้วบอกว่าพรุ่งนี้กลับบ้านได้แล้วก็ไปเยี่ยมสามีที่ชั้น 12 สามีก็บอกว่าเขาไม่เจ็บเท่าไหร่แต่ต้องห้ามขยับเยอะให้นอนนิ่งๆ

วันที่ 22-4-2554
วันนี้ก็กลับบ้านได้ค่ะ ส่วนสามีต้องอยู่ต่อจนกว่าจะปลอดภัย ก็ได้กลับบ้านวันที่ 3-5-2554  ผลการผ่าตัดดีมากและการทำงานของไตดีมากจนถึงทุกวันนี้ ชีวิตดีขึ้นมากแทบจะเป็นปกติทุกอย่างแค่ต้องระมัดระวังเรื่องยากดภูมิคุ้มกันค่ะ

บทความเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไต
ที่ น.ต. พงศธร คชเสนี  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่
โดยเมื่อได้ไตมาแล้ว จะนำมาต่อเข้ากับเส้นเลือดของร่างกายบริเวณหน้าท้องน้อย
ซึ่งโดยปกติแล้วถือว่าไม่ยากนัก และขนาดก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ
หลังการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องแยกเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเป็นไอซียู
อาจเป็นหอผู้ป่วยที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ หรือห้องเดี่ยวก็ได้แต่ต้องใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อเป็นกรณีพิเศษ
เพราะผู้ป่วยในระยะแรกจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปฏิกริยาต่อต้านอวัยวะของร่างกายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปทำให้ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อลงลง
ผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อจากญาติ หรือผู้มาเยี่ยมได้ง่ายกว่าคนปกติ
จึงต้องมรกฏป้องกันเอาไว้เพื่อผู้ป่วยเองจะค่อยๆลดยากดภูมิต้านทานลง
จนไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างใด อาจใช้ระยะเวลาในโรงพยาบาลระหว่าง 2-6 สัปดาห์


การพักฟื้นหลังออกจากโรงพยาบาล
หลังออกจากโรงพยาบาล
แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยทำงานเบาๆที่ไม่มีความเสี่ยงไม่ว่าจากอุบัติเหตุ
หรืองานที่จะเสี่ยงจากโรคที่จะได้รับจากบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการติดเชื้อเช่น ไข้หวัด โรคปอด
หรือแผลเป็นหนองสามารถนอนกับสามีภรรยาได้ตามปกติ
แพทย์จะแนะนำให้กลับไปทำงานได้หลังจาก 1 เดือน
ถ้าไม่มีอะไรแทรกซ้อน ค่อยๆออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อฝึกฝนและเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายท่านที่ฝึกฝนจนสามารถแข่งขันกีฬาแทบทุกชนิดได้
การใช้ยาหลังการปลูกถ่ายไต
ยาที่ใช้หลังการผ่าตัดมีอยู่หลายกลุ่ม เพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน เช่น
- ยากดภูมิต้านทานของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสลัดไต (Acute rejection)
- ยาที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากได้ยากดภูมิคุ้มกันในขนาดสูง จะมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยปกติยาป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้ จะให้ไปอย่างน้อย 3 เดือน และอาจจะต้องให้ซ้ำถ้ามีภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกดอย่างมาก โดยเฉพาะหลังได้รับยารักษาภาวะสลัดไต
- ยารักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นยารักษาเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาลดไขมัน ยาลดบวม
ยาที่เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก
ยาที่เพิ่มความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในภาวะโลหิตจาง
- ยาวิตามินเพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกาย
(http://www.nephrothai.org/news/news.asp?type=KNOWLEDGE&news_id=69) 
แก้ไขเมื่อ 19 ม.ค. 55 11:42:13
แก้ไขเมื่อ 19 ม.ค. 55 00:42:44
จากคุณ: มนแจน    
เขียนเมื่อ: 19 ม.ค. 55 00:41:09

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปฏิทินสมาคมโรคไตฯ ประจำปี 2555

เรื่องการเปลี่ยนไต

เก็บมา..


ขั้นตอนในการขอเปลี่ยนไตกรณีมีผู้บริจาค 2 Months, 2 Weeks agoKarma: 5
การปลูกถ่ายไต ( Kidney Transplant ; KT ) เป็นเป้าหมายหลักสำหรับการจัดบริการทดแทนไตแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตและทำงานได้ดีที่สุด การผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นการรักษาพยาบาลที่ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และไม่เพียงต้องการความรู้ความชำนาญของทีมงานในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังต้องการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเตรียมการจัดหาอวัยวะที่จะปลูกถ่าย การจัดเตรียมความพร้อมผู้บริจาคหรืออวัยวะที่บริจาค การเตรียมความพร้อมของผู้รับบริการ จนถึงภายหลังจากการปลูกถ่ายไตแล้วก็ยังต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เพื่อลดผลจากภาวะภูมิคุ้มกันที่มีต่ออวัยวะที่ปลูกถ่าย ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการจัดบริการปลูกถ่ายไตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและหน่วยบริการ จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้เข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไต ด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
2.เพื่อให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ มาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้ผลลัพธ์สุขภาพที่ดีสามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ

การบริหารงบประมาณ

เป้าหมายบริการ
ผู้ป่วยที่รับบริการผ่าตัดปลูกถ่ายไต KT จำนวน 300 ราย
ระยะเวลาในการดำเนินการ
ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554

การบริหารจัดการ

1. การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
หน่วยบริการที่จะดำเนินให้บริการทดแทนไตด้วยวิธีปลูกถ่ายไต KT ต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมบริการ โดยต้องเป็นหน่วยบริการที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย

2. หน้าที่ของหน่วยบริการ
จัดระบบการลงทะเบียนผู้รับบริการปลูกถ่ายไต ( Kidney Transplantation )
1) จัดให้มีระบบการให้บริการ KT ที่มีสถานที่และเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมและพอเพียงเพื่อบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
2)จัดให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตหรืออายุรแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร ที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กำหนดหนึ่งคนเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการและมีพยาบาลโรคไตเป็น KT Case Manager
3) ให้บริการปลูกถ่ายไต ( Kidney Transplantation ) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4) การให้บริการเป็นไปตามชุดบริการต่าง ๆ ( Protocol ) ตามแนวทางของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
5) จัดให้มีกิจกรรมการให้บริการในแต่ละชุดบริการ ( Protocol ) ตามแนวทางของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
6) จัดเตรียมระบบในการส่งข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ สปสช. กำหนดเพื่อประกอบการขอรับการชดเชยหรือสนับสนุนค่าบริการ
7) จัดให้มีคณะกรรมการโดยมีจำนวนและองค์ประกอบตามที่ สปสช.กำหนดทำหน้าที่คัดกรองเบื้องต้นผู้ป่วยปลูกถ่ายไต

รายชื่อหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียน
หน่วยบริการที่มีศักยภาพและได้แสดงความจำนงให้บริการ รวม 15 แห่ง ดังนี้
1. โรงพยาบาลพุทธชินราช
2. โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
3.โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
4. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
5. โรงพยาบาลขอนแก่น
6. โรงพยาบาลศรีนครินทร์
7.โรงพยาบาลรามาธิบดี
8. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
9.โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
10. โรงพยาบาลราชวิถี
11.วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิระพยาบาล
12. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
13.โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 14. โรงพยาบาลศิริราช
15. จุฬาลงกรณ์
หมายเหตุ ทั้งนี้หากมีหน่วยบริการเพิ่มเติม สปสช.จะประกาศเพิ่มต่อไป

3. การลงทะเบียนผู้ป่วย
ผู้มีสิทธิ หมายถึง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่จะรับบริการปลูกถ่ายไต KT ( Recipient) ต้องเป็นผู้มีสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้ง สิทธิว่างด้วย และ เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรับบริการทดแทนไตด้วยวิธี CAPD และ HD ส่วน ผู้บริจาคไต (Donor) อาจเป็นผู้มีสิทธิอื่นได้
การลงทะเบียนผู้ป่วย
ให้หน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ ลงทะเบียน ผู้ป่วยที่ได้รับการพิจารณาในโปรแกรม DMIS_KT เมื่อได้รับการลงทะเบียนแล้ว หน่วยบริการจะตรวจสอบสิทธิก่อนการให้บริการทุกครั้ง และ ณ วันที่รับบริการ KT ผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

แนวทางการสนับสนุนค่าบริการ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในการให้บริการ KT แก่หน่วยบริการตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียม การปลูกถ่าย และการดูแลหลังปลูกถ่ายไต โดยการสนับสนุนเป็นไปตามแบบแผนการรักษา ( Protocol ) ตามที่สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยเสนอ โดย Protocol ดังกล่าว มีการจำแนกย่อยและมีค่าใช้จ่ายที่จ่ายในลักษณะเหมาตาม Protocol ที่ต่างกันไปโดยแบ่งการจ่ายเงินเป็น 2 ช่วง มีรายละเอียดดังตาราง ต่อไปนี้
1) ค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- สำหรับ ผู้บริจาคอวัยวะ ทั้ง ผู้บริจาคที่มีชีวิต และผู้บริจาคสมองตาย
- สำหรับผู้รับบริจาค
2) ค่าใช้จ่ายระหว่างผ่าตัด
ชดเชยให้หน่วยบริการ แบบราคาเหมาจ่ายค่าบริการต่อชุดบริการ (Protocol)ในระหว่างเข้ารับบริการเป็นผู้ป่วยใน จนกระทั่งจำหน่าย รวมทั้ง เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีไม่มีภาวะแทรกซ้อน จ่ายตาม Protocol I-IV
- กรณีมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย จ่ายตาม Protocol
1) Antibody mediated rejection ประกอบด้วย Protocol AMR-A และ Protocol AMR-B
2) Acute cellular rejection ประกอบด้วย Protocol ACR-A และ Protocol ACR-B
3) Delay graft function ประกอบด้วย Protocol DGF-A Protocol DGF-B และ Protocol DGF-C


เห็นเขาถาม-ตอบกันใน pantip ก็เลยเก็บไว้อ่าน... สรุปใจความว่า รพ.รัฐ น่าจะรับและช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย ต้องลองไปติดต่อดู เรียงลำดับ รพ..ที่สะดวก 1. ศิริราช 2. รามา 3. วชิระ ลองหาข้อมูลเพิ่ม. สมาคมปลูกถ่ายไต http://www.transplantthai.org/index.php?news_id=00056

 ช่วยแนะนำด้วย นึกว่าทำบุญเถอะครับ มีน้องที่บ้านนอกเขาถามถึงโรงพยาบาลและสอบถามถึงค่าใช้จ่ายๆ ในการเปลี่ยนไต โดยช่วงนี้ฟอกไตอยู่ หมอบอกว่าให้หาญาติสนิทๆ ที่สามารถให้ไตน้องได้ ซึ่งน้องก็หาได้แล้ว แต่อยากขึ้นมารักษาที่ กทม. จากคุณ : woodtate เขียนเมื่อ : 9 ส.ค. 54 21:05:34 ความคิดเห็นที่ 1 คุณพ่อดิฉันท่านได้รับไตบริจาค(ซึ่งเนื้อเยื่อต้องเข้ากันได้นะค่ะ) เปลี่ยนถ่ายไตที่รพ.รามาค่ะ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายตอนนั้นประมาณ 80000 (แปดหมื่นบาท) สัก10กว่าปีได้แล้วค่ะ (ตอนนี้ก็ยังสามารทำงานได้ปกติ) แต่ว่าท่านเป็นข้าราชการ ไม่แน่ใจเรื่องค่าใช้จ่ายจริงๆ แต่รพ.ของรัฐบาลน่าจะถูกนะค่ะ เราไม่ต้องเข้ารักษาแบบพรีเมี่ยมก็ได้มั้งค่ะ กรณีที่มีญาติ(สายเลือดเดียวกัน) พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือภรรยาที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง แล้วมีเนื้อเยื่อที่ตรงกัน ต้องทำการตรวจจากแพทย์ที่ทำการรักษาก่อนนะค่ะ หลังจากนั้นขั้นตอนเยอะมากค่ะ ถึงจะได้รับเปลี่ยนถ่ายไต (แต่จริงๆแล้วไม่ได้เปลี่ยนถ่ายนะค่ะ)เห็นคุณพ่อบอกว่าเป็นการเพิ่มไต อีกอันเข้าไปเพื่อที่จะทำงานแทนไตทั้งสองข้างที่ไม่สามารทำงานได้อ่ะค่ะ ถ้ายังสงสัยยังไงหลังไมค์มาถามดิฉันนะค่ะ จากคุณ : tukta_von เขียนเมื่อ : 9 ส.ค. 54 21:57:32 ความคิดเห็นที่ 2 โรงพยาบาลหลักที่รับทุกสิทธิ์การรักษาก็มีรามาเป็นหลัก ตอนนี้เปลี่ยนไตใช้บัตรทองได้ครับแต่ต้องสอบถามทางโรงพยาบาลก่อนศิริราชก็รับ ฟรี จากคุณ : เสี่ยวโป (เสี่ยวโป) เขียนเมื่อ : 9 ส.ค. 54 22:30:22 ความคิดเห็นที่ 3 ผมคงตอบแบบครอบคลุม เป็นข้อมูลเผื่อท่านอื่นด้วย - เปลี่ยนไตระหว่างญาติ ในต่างจังหวัดติดต่อ ร.พ.มหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์ศาสตร์ตั้งอยู่ เช่น ภาคใต้ติดต่อ ม.อ.หาดใหญ่ - คุยกับแพทย์เจ้าของไข้ จาก ร.พ.ต้นสังกัด เรื่องสิทธิการรักษา เพื่อคาดคะเนค่าใช่จ่ายล่วงหน้า ค่าใช้จ่าย ก่อนและในระหว่างเปลี่ยนไต - ก่อนเปลี่ยนไต ต้องอุดฟัน ถอนฟัน รักษาความสะอาดในช่องปาก ลดช่องทางเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำได้ตั้งแต่วันนี้เลยครับ - ค่าผ่าตัด ค่ายากดภูมิ ฯลฯ - หากพักฟื้นใน ร.พ. มีภาวะแทรกซ้อน หรืออยู่นาน ยิ่งจ่ายเงินเพิ่ม ค่าใช้จ่ายหลังการเปลี่ยนไต - ค่าที่พักชั่วคราว หากเปลี่ยนไต ห่างบ้าน หรือใน ร.พ. ที่ กทม. ออกจาก ร.พ.ก็ไม่ควรเดินทางกลับไปอยู่บ้าน ตจว.ในทันที เพราะ หมอจะนัดในช่วงแรกถี่มาก เช่น 3 - 7 – 15 วันครั้ง หรือเผื่อมีอาการแทรกซ้อนก็ไป ร.พ.ได้ทันที เช่น ให้อยู่บ้านญาติ หรือ เช่าอพาตเมนต์ที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว เพราะเกี่ยวข้องกับการทำอาหารรับประทานเองหรือหุงต้มอาหารให้สุกก่อนรับประทาน ความสะอาดของสถานที่ ล้างแอร์ ก่อนที่ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในห้องพักชั่วคราว ควรทำความสะอาดฝุ่นเป็นอันดับแรก เพราะผู้ป่วยต้องทานยากดภูมิ อาจแพ้ฝุ่น ติดเชื้อโรค เชื้อราได้ง่ายกว่าคนปกติ - ค่ายากดภูมิ ผู้ป่วยต้องทานไปตลอดชีวิต - ค่าเดินทาง หากปกติดี หมอจะนัด 3 เดือนครั้ง


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไต
น.ต. พงศธร คชเสนี
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

การปลูกถ่ายไต คือการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการใช้ไตจากผู้อื่น (ซึ่งผ่านการตรวจแล้วว่าสามารถเข้ากันได้) ให้มาทำหน้าที่แทนไตเก่าของผู้ป่วยที่สูญเสียหน้าที่ไปอย่างถาวรแล้ว ปัจจุบันถือเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากถ้าไตใหม่ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว สามารถทดแทนไตเดิมได้สมบูรณ์ คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น รวมทั้งอายุที่ยืนยาวกว่าการรักษาทดแทนไตโดยวิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็นการฟอกเลือด หรือการล้างไตทางผนังหน้าท้อง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเหมือนกับการได้รับชีวิตใหม่

วิธีการปลูกถ่ายไต คือ การนำไตของผู้อื่นที่เข้าได้กับผู้ป่วยมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย มิใช่การเปลี่ยนเอาไตผู้ป่วยออกแล้วเอาไตผู้อื่นใส่เข้าไปแทนที่ การผ่าตัดทำโดยวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกรานข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วย แล้วต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วย และต่อท่อไตใหม่เข้าในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย การปลูกถ่ายไตนี้ใช้ไตเพียงข้างเดียวก็พอ ถ้าร่างกายของผู้ป่วยรับไตใหม่ได้ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ไตที่ได้รับใหม่จะทำงานได้ดี แต่ผู้ป่วยต้องได้รับยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต และจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดไป หากขาดยากดภูมิต้านทาน ร่างกายจะต่อต้านไตที่ได้รับใหม่ ทำให้ไตเสียและยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ขั้นตอนของการปลูกถ่ายไต

- แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยไตวานเรื้อรังระยะสุดท้าย
- ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางหัวใจ ตรวจสภาพจิตใจ
- เจาะเลือดตรวจหน้าที่ของไต / ตับ / ตับอักเสบ บี -ซี / ซิฟิลิส / เอช ไอ วี
- ตรวจเนื้อเยื่อ (HLA Matching)
- การลงทะเบียนรอ ( Waiting list)
- ส่งเลือดตรวจทุก 2 เดือน (ตรวจหาภูมิคุ้มกัน)/ตรวจร่างกายทุก 2-3 เดือน
- การลงทะเบียนรอ พร้อมรับการเปลี่ยนถ่าย (Active waiting list)

การเตรียมตัวของผู้ที่จะปลูกถ่ายไต

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้าย ระหว่างที่รอการปลูกถ่ายไตต้องเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา  เพราะไตที่รอคอยนั้น อาจจะมาเมื่อใดก็ได้โดยที่เราจะไม่คาดคิด ความพร้อมทางร่างกายนั้นต้องตรวจเช็คอวัยวะทุกระบบในตัวว่าแข็งแรงพอที่จะทนการผ่าตัดได้หรือไม่ และสามารถรับการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทานได้ ผู้ป่วยจะต้องไม่เป็นผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด ผลการเปลี่ยนไตจึงจะได้คุ้มค่า

มีการตรวจอะไรบ้าง ที่ควรทำในระหว่างการรอปลูกถ่ายไต

ระบบต่างๆของร่างกายที่ต้องตรวจเช็ค คือ ระบบหัวใจ / ตับ / ปอด / สมอง / ระบบเส้นเลือด และความดันโลหิต
- หัวใจที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการแก้ไขก่อนที่จะผ่าตัดเปลี่ยนไต
-  ตับที่เป็นไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ ซี ที่ยังไม่สงบ ควรได้รับการรักษาให้เรียบร้อยก่อน มิฉะนั้นแล้วหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต เชื้อไวรัสอาจกำเริบและเพื่มจำนวนมากเป็นทวี  เพราะหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยต้องรับประทานยาประเภทสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ง่าย ทำให้เกิดเลือดออกจากแผลในกระเพาะได้
- ระบบเลือด ควรดูเกล็ดเลือดและตรวจดูการแข็งตัวของเลือด เพราะถ้าเลือดหยุดยากอาจจะทำให้เสียเลือดมากในระหว่างการผ่าตัด ควรแก้ไขก่อนทำก่รผ่าตัด การตรวจดูเส้นเลือดที่จะนำไตใหม่ไปต่อมีความจำเป็น ในบางรายที่มีสภาพของเส้นเลือดแข็งและมีแคลเซี่ยมไปเกาะอยู่ที่ผนังเส้นเลือด ซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุและโรคผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง

ตรวจเนื้อเยื่อ (HLA Matching)

การทำแม็ชชิ่ง คือการเจาะเลือดของผู้รอรับไตมาผสมกับเซลล์ของผู้บริจาคไต เพื่อดูว่าเข้ากันได้หรือไม่ จะเกิดปฏิกริยาต่อต้านรุนแรงหรือไม่ถ้าใส่ไตนี้เข้าไปในตัวของผู้รับ การทำแม็ชชิ่งจำเป็นต้องทำทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เพื่อตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน

ผู้บริจาค (Donor)
ไตที่นำมาใช้ปลูกถ่ายได้มาจาก 2 แหล่งคือจากคนบริจาคที่ยังมีชีวิต (Living Donor) และจากคนบริจาคที่เสียชีวิตแล้ว (Cadaveric Donor)

1.        คนบริจาคที่ยังมีชีวิต

ตามกฏหมายของแพทยสภาที่ประเทศไทยถือปฏิบัติอยู่ คนบริจาคที่มีชีวิตต้องเป็นญาติโดยทางสายเลือด, สามีหรือภรรยา ซึ่งรวมถึงพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หลาน และญาติ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นญาติโดยทางสายเลือดอย่างแท้จริง ทั้งทางด้านการแพทย์และหรือทางด้านกฏหมาย สำหรับสามี/ภรรยาที่จะบริจาคไตให้คู่ครองของตน จะต้องแต่งงานโดยมีทะเบียนสมรสมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และ/หรือมีลูกสืบสกุลที่เกิดจากสามีภรรยาคู่นั้น ผู้บริจาคและผู้รับบริจาคควรมีเลือดกรุ๊ปเดียวกันหรือเป็นกรุ๊ปเลือดที่เข้ากันได้ และผลการทดสอบเข้ากันได้ของเลือดจะต้องไม่มีปฏิกริยาต่อต้านกัน

ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจ ปัสสาวะ อัลตราซาวน์ ตรวจคลื่นหัวใจอย่างละเอียด เพื่อให้มีความแน่ชัดว่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ผู้บริจาคต้องมีความเข้าใจในเรื่องการบริจาค มีความตั้งใจ เต็มใจ ที่จะช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ ปราศจากอามิสสินจ้างตอบแทน ภายหลังการบริจาคไต ผู้บริจาคไตจะเหลือไตเพียงข้างเดียว เพียงพักฟื้น 2-4 สัปดาห์ ก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้บริจาค
จะยังคงมีสุขภาพปกติ แข็งแรงเหมือนคนที่มีไต 2 ข้างตามปกติ สามารถทำงาน ออกกำลังกาย เดินทาง และมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติ เพียงแต่ควรระมัดระวังดูแลไตที่เหลือไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อไต

2.        คนบริจาคที่เสียชีวิตแล้ว

หมายถึง ผู้บริจาคที่เสียชีวิตหรือตายแล้ว การตายนี้ได้รับการพิสูจน์และยืนยันโดยคณะแพทย์ และญาติผู้ตายแสดงความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของผู้ตายคนนั้น ขั้นตอนในการวินิจฉัยการตายและการรับบริจาคอวัยวะ ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของแพทยสภาและของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยอย่างเคร่งครัด แพทย์ในประเทศไทยสามารถให้การวินิจฉัยการตายของคนไข้ได้ โดยยึดหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยแพทยสภาเมื่อแพทย์ตรวจพบว่าคนไข้มีแกนสมองไม่ทำงานอย่างถาวร โดยมีสาเหตุที่ชัดเจน ถือว่าแกนสมองตาย ถือว่าสมองตาย จึงจะถือว่าเป็นการตายที่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าหัวใจยังเต้นอยู่ก็ตาม ญาติของผู้ตายในลักษณะนี้ควรและสามารถแสดงความประสงค์บริจาคอวัยวะของผู้ตายได้

การเสียชีวิตที่ชัดเจนแบบข้างต้น ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และมีการบาดเจ็บของสมองอย่างรุนแรงและถาวร หรืออาจจะมาจากผู้เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกและสมองถูกทำลายอย่างรุนแรงถาวร เมื่อไตที่บริจาคถูกนำออกจากร่างกายของผู้บริจาคแล้ว ถ้าได้รับการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ก็สามารถเก็บได้นานถึง 48 ชม.

การรอปลูกถ่ายไต

การรอปลูกถ่ายไต จะนานแค่ไหน คงจะบอกยาก ขึ้นอยู่กับโชคและดวงเสียส่วนหนึ่ง ที่ว่าคือผู้บริจาคไตนั้นมีเนื้อเยื่อที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่รอรับมากน้อยแค่ไหน บางท่านอาจรอเพียงไม่กี่เดือน ส่วนบางท่านอาจต้องรอเป็นปีๆ ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย 2-3 ปี

การผ่าตัดเปลี่ยนไต

จะถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ โดยเมื่อได้ไตมาแล้ว จะนำมาต่อเข้ากับเส้นเลือดของร่างกายบริเวณหน้าท้องน้อยซึ่งโดยปกติแล้วถือว่าไม่ยากนัก และขนาดก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ หลังการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องแยกเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเป็นไอซียู อาจเป็นหอผู้ป่วยที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ หรือห้องเดี่ยวก็ได้แต่ต้องใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อเป็นกรณีพิเศษ เพราะผู้ป่วยในระยะแรกจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปฏิกริยาต่อต้านอวัยวะของร่างกายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปทำให้ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อลงลง ผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อจากญาติ หรือผู้มาเยี่ยมได้ง่ายกว่าคนปกติ จึงต้องมรกฏป้องกันเอาไว้เพื่อผู้ป่วยเองจะค่อยๆลดยากดภูมิต้านทานลง จนไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างใด อาจใช้ระยะเวลาในโรงพยาบาลระหว่าง 2-6 สัปดาห์

การพักฟื้นหลังออกจากโรงพยาบาล

หลังออกจากโรงพยาบาล แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยทำงานเบาๆที่ไม่มีความเสี่ยงไม่ว่าจากอุบัติเหตุ หรืองานที่จะเสี่ยงจากโรคที่จะได้รับจากบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการติดเชื้อเช่น ไข้หวัด โรคปอด หรือแผลเป็นหนองสามารถนอนกับสามีภรรยาได้ตามปกติ แพทย์จะแนะนำให้กลับไปทำงานได้หลังจาก 1 เดือน ถ้าไม่มีอะไรแทรกซ้อน ค่อยๆออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อฝึกฝนและเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายท่านที่ฝึกฝนจนสามารถแข่งขันกีฬาแทบทุกชนิดได้

การใช้ยาหลังการปลูกถ่ายไต

ยาที่ใช้หลังการผ่าตัดมีอยู่หลายกลุ่ม เพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน เช่น
- ยากดภูมิต้านทานของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสลัดไต (Acute rejection)
- ยาที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากได้ยากดภูมิคุ้มกันในขนาดสูง จะมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยปกติยาป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้ จะให้ไปอย่างน้อย 3 เดือน และอาจจะต้องให้ซ้ำถ้ามีภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกดอย่างมาก โดยเฉพาะหลังได้รับยารักษาภาวะสลัดไต
- ยารักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นยารักษาเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยารักษาความดันโลหิต         สูง ยาลดไขมัน ยาลดบวม ยาที่เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก  ยาที่เพิ่มความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในภาวะโลหิตจาง
- ยาวิตามินเพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกาย

โอกาสประสพความสำเร็จในการปลูกถ่ายไต

ผลสำเร็จในการปลูกถ่ายไตขึ้นกับหลายปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือชนิดของไตที่ได้รับ ดังนี้
ไตจากผู้มีชีวิต           ผลสำเร็จใน 1 ปี  ประมาณ 95%
                                ผลสำเร็จใน 5 ปี  ประมาณ 90 %
ไตจากผู้เสียชีวิต       ผลสำเร็จใน 1 ปี  ประมาณ 85 %
                                ผลสำเร็จใน 5 ปี  ประมาณ 70 %

สาเหตุที่ทำให้ไตหลังการปลูกถ่ายเสื่อม มีดังนี้
- การรับประทานยาไม่สมำเสมอ ลืมทาน ทานมากเกิน ทานยาน้อยไป
- การกำเริบของโรคไตเดิม
- การต่อต้านไตแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
- การติดเชื้อโรคในไต
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต หากไตไม่ทำงานไม่ว่าจะเกิดจากการต่อต้านแบบเฉียบพลัน หรือเกิดจากเทคนิคการผ่าตัดจนไตเสียแล้วนั้น จำเป็นต้องผ่าเอาไตออก แต่ถ้าไตทำงานไปได้นานแล้ว และเกิดการเสื่อมอย่างช้าๆ อย่างเรื้อรังจนไม่ทำงานไปในที่สุด ในกรณีหลังนี่ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าเอาไตออก

ภาวะแทรกซ้อนหลังการเปลี่ยนไต

๑. ไตไม่ทำงานทันที ที่ใส่เข้าไปในร่างกาย : ป้องกันได้ด้วยการตรวจการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อให้ถูกต้องก่อนทำการปลูกถ่ายไต
๒.  การสลัดไตอย่างเฉียบพลัน : มีประมาณ ๒๐-๔๐ % ในปีแรก ขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้กดภูมิต้านทานอวัยวะที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยาสเตียรอยด์ ซึ่งไม่แพงมากนัก มีจำนวนน้อยที่ต้องใช้ยาที่มีราคาแพงเพื่อควบคุมการสลัดไต
๓. การสลัดไตอย่างเรื้อรัง : คือการเสื่อมสภาพของไตอย่างช้าๆ โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้โดยเด็ดขาด แต่สามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดยการควบคุมโรคที่อาจเกิดร่วมด้วยให้ดี เช่น ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และต้องกินยาลดภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลัน ซึ่งจะมีผลทำให้ไตมีอายุยืนยาวขึ้น
๔. การติดเชื้อจากเชื้อทั่วไป : หลังการปลูกถ่ายไต ภูมิต้านทานร่างกายจะลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายจากเชื้อทั่วๆไป เช่น ปอดบวม กรวยไตอักเสบ หรือจากเชื้อพวกฉวยโอกาส เช่น ไวรัส CMV , Herpes, EB virus เชื้อรา เชื้อพยาธิ วัณโรค และอาจต้องกินยาเพื่อป้องกันพวกเชื้อฉวยโอกาสเหล่านี้ด้วยในระยะแรกหลังการผ่าตัด
๕. มะเร็ง : หลังการปลูกถ่าย ภูมิต้านทานร่างกายลดลง ทำให้เกิดโอกาสเกิดมะเร็งได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือผู้ได้รับการปลูกถ่ายและรับทานยาลดภูมิต้านทานมานานแล้ว มะเร็งที่มักพบได้บ่อยได้แก่ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งของไตเก่า
๖. ภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง : อาจเป็นจากโรคที่มีมาก่อนการผ่าตัด หรือเกิดจากยาที่ใช้ในการลดภูมิต่อต้านอวัยวะ เช่น เพร็ดนิโซโลน นีโอรัล หรือ โปรกราฟ ก็มีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
๗. โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน :  ผู้ป่วยปลูกถ่ายไต มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าบุคคลทั่วไป อาจเพราะมีโอกาสมากที่มีความดันโลหิตสูง ไขมันในโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดห้วใจตีบตัน
 ๘. เบาหวาน : ยาเพร็ดนิโซโลน และโปรกราฟ ทำให้มีโอกาสเกิดเบาหวานได้ง่ายขึ้น หรือเบาหวานที่เป็นอยู่แล้วควบคุมได้ยากขึ้น
 ๙. ไขมันในโลหิตสูง : พบได้สูง 50-80% และอาจเกิดจากการใช้ยาเพร็ดนิโซโลน และนีโอลัล ถ้าจำเป็นก็ต้องใช้ยาลดไขมันจำพวกกลุ่ม สตาติน เช่น ลิปิตอร์ หรือ โซคอร์
๑๐. กระดูกผุกร่อน : ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย มักมีภาวะกระดูกขาดแคลเซี่ยมอยู่แล้ว เมื่อได้รับยาเพร็ดนิโซโลนก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดกระดูกผุได้ง่าย บางรายอาจถึงต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกตะโพกก็มีแผลในกระเพาะอาหาร ยาเพร็ดนิโซโลน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับยาลดกรดในกระเพาะร่วมด้วย
๑๑. ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการลดภูมิต้านทานอวัยวะแปลกปลอม :
ยาแต่ละตัวจะมีผลข้างเคียงต่างๆ กัน และไม่จำเป็นจะต้องเกิดกับทุกคน
    นีโอรัล  ขนขึ้นตามหน้าและตัว เหงือกหนาขึ้น พิษต่อไต ไขมันในเลือดสูง กรดยูริคสูง ความดันโลหิตสูง
    โปรกราฟ  พิษต่อไต เบาหวาน มือสั่น ผมร่วง
     เพร็ดนิโซโลน สิว หน้ากางขึ้น น้ำหนักขึ้น แผลในกระเพาะ เบาหวานลงไต  โรคตับอักเสบเรื้อรัง กระดูกพรุน  

ข้อควรและไม่ควรปฏิบัติหลังได้รับการปลูกถ่ายไตแล้ว

ผู้ป่วยที่ปลูกไตแล้ว สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรเลือกลักษณะงานที่เหมาะสม งานที่สกปรก สิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด อับชื้น ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
- ควรบอกนายจ้างให้ทราบ เพื่อจะได้จัดงานที่เหมาะสมให้ จัดการประกันสุขภาพตามสิทธิ
- ไม่ควรออกแรง ทำงานหักโหมจนเกินไป ผักผ่อนเท่าที่จำเป็น
- การไปเที่ยว ควรเลือกสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ควรมีโรงพยาบาลที่เข้าถึงได้ง่าย
- สามารถขับขี่ยานพาหนะได้ตามปกติ
- สามารถมีลูกได้ตามปกติ สำหรับหญังอาจมีปัญหาในการตั้งครรภ์ได้
- สามารถเล่นกีฬา ออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่อย่าให้หักโหมจนเกินไป

 ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตถือเป็นการรักษาภาวะไตวายขั้นสุดท้ายที่ดีที่สุด แต่การรักษาวิธีนี้ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่และมีมากกว่าวิธีอื่นที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าผลที่ได้ดี ผู้ป่วยจะมีชีวิตใกล้เคียงคนปกติมากกว่าวิธีอื่น ผลการรักษาจะดีถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีโรคของระบบอื่น นอกเหนือจากโรคไต ไม่มีภาวะติดเชื้อ และอายุไม่มาก เป็นต้น ในการปลูกถ่ายไตแพทย์จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ ว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีนี้หรือไม่ รวมทั้งต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้ผู้ป่วยด้วย มิฉะนั้นผลจะไม่ดีและในบางครั้งอาจเสียชีวิตได้  สำหรับในผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไตทุกระยะ จากประสบการณ์ในการรักษาที่ผ่านมาของผู้เขียน พบว่าผู้ป่วยที่มีกำลังใจดีและรักษาใจของตนเองได้ดี ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด ผลการรักษามักจะดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้โรคที่เป็นจะรุนแรงหรือแม้จะทุพพลภาพ การรักษาใจร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ๆ ดังกล่าวมาแล้ว จึงมีความสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย และญาติ ควรให้ความสำคัญและช่วยกันทำเพื่อผู้ป่วยจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขแม้จะเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่

น.ต. พงศธร คชเสนี